บริการสังคม

ต้นเสียวใหญ่ (Siao yai)

ชื่อท้องถิ่น : ไคร้หางนาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เสียวน้อย เสียวเล็ก (ขอนแก่น), เสียวหางนาค (อุบลราชธานี), เสียวน้ำ (อุบลราชธานี, ปราจีนบุรี), ตะไคร้หางสิงห์ (สุพรรณบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus angkorensis Beille

วงศ์ : Phyllanthaceae

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล กิ่งอ่อน เป็นสันเหลี่ยมสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน ออกหนาแน่น ใบมีขนาด เล็ก รูปขอบขนาน ปลายใบมนและเป็นติ่ง โคนใบมนเบี้ยว หลังใบเรียบเป็นมัน ท้อง ใบเรียบสีอ่อนกว่า แผ่นใบแผ่บาง ใบอ่อนสีแดง หูใบรูปใบหอก เส้นร่างแหเห็นไม่ ชัดเจน ก้านใบสั้นมาก ดอกออกเดี่ยวๆที่ซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ดอกย่อยสี ขาวนวล ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวๆตามซอกใบ มีกลีบรวม 4 กลีบ รูปไข่หรือรูปไข่กลับ จานฐานดอก 4 อัน เป็นตุ่ม เกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคนเป็นเส้า เกสรสั้น ๆ ดอกเพศเมียมีกลีบรวม 6 กลีบ ขนาดเล็ก รูปรีหรือรูปไข่ จานฐานดอกเป็น กาบรูปถ้วย จักเป็นครุย รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 3 อัน ผลแห้ง แตกแบบแคปซูล ออกเป็นกระจุกหรือเดี่ยว ทรงค่อนข้างกลม มีแนวพู 8 พู ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผิวเกลี้ยง สีเขียว เปลือกนอกมีผิวบาง เมล็ดมีสามสัน ขนาดเล็ก จำนวน 8-10 เมล็ด มีเส้นใยฝอย ออกดอกราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ติดผลราว เดือนกันยายนถึงธันวาคม พบที่ระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 500-800 เมตร

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ยังไม่มีข้อมูลการใช้ในทางเศรษฐกิจ

 

สรรพคุณทางการแพทย์

1. ราก ต้มน้ำดื่ม แก้มดลูกอักเสบ

2. ราก เข้ายากับเสี้ยวใหญ่ และเสี้ยวน้อย ต้มน้ำดื่ม แก้ไตพิการ

3. ลำต้น เข้ายากับเสี้ยวน้อย และดูกข้าว ต้มน้ำดื่ม แก้ปวด

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง​

สำหรับการใช้ต้นเสียวใหญ่เป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้เสียวใหญ่เป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง