บริการสังคม

ต้นประดู่ป่า (Pra du pa)

ชื่อท้องถิ่น : ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ประดู่เสน (ภาคกลาง), ประดู่ (ภาคอีสาน), เตอะเลอ (กะเหรี่ยง), จิต๊อก (ฉาน), ฉะนอง (เขมร)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus macrocarpus Kurz

วงศ์ : Fabaceae

ข้อมูลทั่วไป

ที่มา ประดู่ป่า จัดเป็นไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอีกชนิดหนึ่ง โดยมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอินเดีย บังกลาเทศ พม่า และไทย ซึ่งจะต่างจากประดู่บ้าน ที่เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณแถบทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล และในมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้มากในภาคเหนือและภาคอีสานบริเวณป่าเบญจวรรณและป่าดิบแล้งทั่วไป

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงถึง 20 เมตร เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา หนา แตกหยาบ ๆ เป็นร่องลึก เรือนยอดรูปคล้ายทรงกระบอก ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 7-13 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ผิวใบเกลี้ยง โคนใบกว้าง มนกลม เละเรียวไปทางปลายใบ ดอก ออกเป็นช่อ ตามซอกใบ ใกล้ยอด กลีบรองกลีบดอก 1-1.5 ซม. ผล เป็นแผ่นกลมแบน มีปีกโดยรอบ มีเมล็ดเดี่ยวอยู่กลางผล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 ซม. เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล

การขยายพันธ์ุ ประดู่ป่าสามารถได้โดยวิธีการใช้เมล็ด ซึ่งในอดีตจะเป็นการขยายพันธุ์ในธรรมชาติเท่านั้นแต่ในปลูกในเชิงพาณิชย์กันมากขึ้น หลังจากมีการปลดล็อคกฎหมายไม้หวงห้าม สำหรับวิธีการเพาะเมล็ดวิธีการปลูกและการดูแลรักษาสามารถทำได้ เช่นเดียวกับการปลูกประดู่บ้าน ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในบทความ “ประดู่บ้าน” ก่อนหน้านี้

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ประดู่ป่าเป็นไม้มีค่าทางเศษฐกิจ เนื้อแข็ง สีแดงอมเหลือง เนื้อละเอียดปานกลาง มีคุณภาพดี ปลวกไม่ทำลาย ลวดลายงดงาม ตกแต่งขัดเงาได้ดี 

สามารถนำมาใช้สร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ทำเกวียน เรือ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องดนตรี เป็นต้น และเปลือกไม้ประดู่ยังสามารถนำมาใช้ย้อมผ้าให้เป็นสีน้ำตาล

ส่วนแก่นก็สามารถนำมาใช้ย้อมผ้าได้เช่นกัน โดยให้สีแดงคล้ำ และยังสามารถใช้นำฝาดสำหรับใช้ฟอกหนังได้อีกด้วย

 

สรรพคุณทางการแพทย์

1. ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีการใช้

2. บำรุงเลือด บำรุงกำลัง แก้ไข้ แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ขับปัสสาวะ แก้พิษเบื่อเมา แก้กษัย วิธีการใช้

3. บำรุงร่างกาย แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาฝาดสมาน วิธีการใช้

4. ใช้แก้อาเจียน แก้ท้องร่วง วิธีการใช้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง

สำหรับการใช้ประดู่ป่าเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้ประดู่ป่าเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง