ชื่อท้องถิ่น : จังหวัดสุรินทร์ เรียกผักหวานป่าว่า “ผักวาน” (เข้าใจว่าคงเพี้ยนมาจากผักหวานนั่นเอง) ส่วนประเทศลาวจะเรียกว่า “Hvaan” กัมพูชาเรียกว่า “Daam prec” เวียดนามเรียกว่า “Rau” มาเลเซียเรียกว่า “Tangal” และประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า “Malatado”
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melientha suavis Pierre
วงศ์ : Opiliaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 11 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีถึงรูปไข่ พบน้อยที่เป็นรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ปลายใบขอบขนานถึงเว้าบุ๋มเป็นติ่งหนามสั้น พบบ้างที่เป็นเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ดอกช่อคล้ายช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่ร่วมต้น ช่อดอกเพศผู้กลีบรวมสีแกมเขียว รูปขอบขนาน ปลายแหลมอับเรณูสีเหลือง ทรงรูปไข่ ช่อดอกเพศเมียกลีบรวมสีเขียว ปลายแหลม ผลเมล็ดเดียวแข็ง สีเหลือง กว้าง 1.5-1.7 เซนติเมตร ยาว 2.3-3 เซนติเมตร
1. คนไทยนิยมใช้ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อนมารับประทานเป็นผัก โดยอาจนำมาลวกให้สุกแล้วใช้เป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ลาบ ใช้เป็นเครื่องเคียง หรืออาจนำไปผัดน้ำมัน หรือนำมาใช้ประกอบอาหารในเมนูต่าง ๆ เช่น แกงเลียง แกงส้ม แกงอ่อม แกงปลา แกงกะทิสด แกงกับไข่มดแดงหรือป่าแห้ง แกงคั่ว ต้มจืด ฯลฯ แต่ผักหวานป่าเป็นผักตามธรรมชาติที่ออกตามฤดูกาลและมีปริมาณน้อย ทำให้มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น ๆ จึงถือได้ว่าผักหวานป่าเป็นอาหารพิเศษสำหรับใครหลาย ๆ คนที่นาน ๆ ครั้งจะได้รับประทาน สำหรับผลแก่ยังสามารถให้นำมาลอกเนื้อทิ้ง แล้วนำเมล็ดไปต้มรับประทานเช่นเดียวกับเมล็ดขนุน โดยจะมีรสหวานมันบ้างว่าใช้ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานแต่เนื้อข้างใน
2. ผักหวานป่าเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าอนุมูลอิสระเป็นตัวก่อให้เกิดความเสียดุลในร่างกายและเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ อีกมายมาย เช่น มะเร็ง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคข้อ โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน ฯลฯ ดังนั้น การรับประทานผักหวานป่าจึงไม่เพียงแต่จะได้คุณค่าทางโภชนาการเท่านั้น หากแต่ยังได้รับสารอาหารที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี
3. ผักหวานป่าสามารถนำมาพัฒนาเป็นชาสำเร็จรูป ซึ่งเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ โดยชาผักหวานจะประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี สารประกอบฟีนอลิก ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในร่างกายและช่วยป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ
4. ผักหวานยังสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักหวานป่าอีกหลากหลายรูปแบบ เช่น น้ำผักหวานป่า ไวน์ คุกกี้ ขนมถ้วย ข้าวเกรียบ ทองม้วน เป็นต้น
1. รากมีรสเย็น เป็นยาแก้ไข้ สงบพิษไข้
2. รากเป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย
3. รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี และเป็นยาแก้น้ำดีพิการ
4. ยอดใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ลดความร้อน ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ระบายความร้อน
5. แก่นของต้นผักหวาน นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง
6. ใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้
1. สำหรับการใช้ต้นผักหวานป่าเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้ผักหวานป่าเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
2. การรับประทานผักหวานป่าต้องนำมาปรุงให้สุกเสียก่อน เพราะการรับประทานแบบสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการเบื่อเมา อาเจียน และเป็นไข้ได้
3. มีพรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะคล้ายกับผักหวานป่า เช่น ต้นเสน ต้นขี้หนอน หากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการผิดสำแดงได้ คือ มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน คอแห้ง อ่อนเพลีย มึนงง และหมดสติ หากร่างกายอ่อนแอก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม