ชื่อท้องถิ่น : หวดฆ่า หวดค่า (อุดรธานี), สีหวด (นครราชสีมา), สีฮอกน้อย หวดลาว (ภาคเหนือ), มะหวดป่า หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หวดเหล้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, คนเมือง), กำซำ กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง), ชันรู มะหวดบาท มะหวดลิง (ภาคตะวันออกเฉียงใต้), กำจำ นำซำ มะจำ หมากจำ (ภาคใต้), สีหวดใหญ่ (บางภาคเรียก), ซำ (ทั่วไป), สือเก่าก๊ะ ยาตีนไก่ (ม้ง), เดี๋ยงอายเปียว (เมี่ยน), มะซ้าหวด (ไทลื้อ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia foetida L.
วงศ์ : Malvaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ หรือนยอดรูปไข่ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา ใบ เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-6 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น ก้านใบประกอบ ยาว 13-20 ซม. ก้านใบย่อยยาว 3-5 มม. ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-30 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. ผล ผลแห้งแตกรูปไต เปลือกผลแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก กว้าง 6-9 ซม. ยาว 8-10 ซม. เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง 1.3 ซม. ยาว 2.5 ซม
1. เนื้อไม้สำโรง เป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาไสกบและตกแต่งได้ง่าย จึงเหมาะสำหรับนำมาใช้ทำเครื่องเรือน หีบใส่ของ หูกทอผ้า ไม้จิ้มฟัน ก้านและกลักไม้ขีดไฟ และไม้อัดได้ ส่วนเปลือกสามารถนำมาใช้ทำเชือกอย่างหยาบ ๆ ได้
2. ในด้านการเป็นไม้ประดับ ต้นไม้ชนิดนี้ก็คือ เป็นต้นไม้ที่มีพุ่มใบหนาทึบ กิ่งก้านแตกตั้งฉากกับลำต้นจากจุดเดียวกันเป็นฉัตร รูปใบดูแปลกตาและให้สีสันสวยงาม เพราะใบอ่อนจะเป็นสีน้ำตาลแดง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะนิยมนำมาปลูกไว้ตามริมถนน โรงเรียน หรือในวัด และยังจัดเป็นไม้ป่าที่หายากขึ้นเรื่อย ๆ หรือใช้ปลูกเป็นหมวดหมู่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ก็ให้ความแปลกตาและร่มเงาได้เป็นอย่างดี (แต่จะไม่นิยมมาปลูกไว้ในบริเวณที่พักอาศัย เพราะดอกมีกลิ่นเหม็นมาก)
3. น้ำมันจากเนื้อในเมล็ดสำเร็งสามารถนำมาใช้ในการปรุงอาหารและจุดไฟได้
1. เปลือกต้นมีรสฝาดสุขุม ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยากล่อมเสมหะและอาจม ช่วยแก้โลหิตและลมพิการ ช่วยขับเหงื่อ ยาแก้บิดปิดธาตุ มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับปัสสาวะ
2. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำกินแก้โรคปวดข้อ แก้อาการบวมน้ำ
3. เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไส้เลื่อน วิธีการใช้
4. ใบมีสรรพคุณเป็นยาระบาย
5. เปลือกผลช่วยแก้ปัสสาวะพิการ ช่วยแก้ลำไส้พิการ ใช้ปรุงเป็นยากินแก้โรคไตพิการ น้ำจากเปลือกผล มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคไต
6. ผลมีรสฝาด สรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ น้ำจากผลมีสรรพคุณเป็นยาสมานท้อง
สำหรับการใช้ต้นสำโรงเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้สำโรงเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม