บริการสังคม

ต้นเขลง (Khleng)

ชื่อท้องถิ่น : หมากเค็ง, นางดำ, ยี, หยี, กาหยี, เค็ง, หมากเข้ง, แคง, แค็ง, หมากแข้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dialium cochinchinense Pierre

วงศ์ : Fabaceae

 

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาลแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีแดง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 5 – 9 ใบ เรียงกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็กสีขาว

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1. ผลสุกรับประทานได้ ปรุงเป็นขนมหวาน ผล อ่อนนามาต้มรับประทานได้ยอดอ่อนให้รสเปรี้ยวใช้ประกอบอาหาร

2. ลูกเขลงหรือลูกหยี สามารถนำมาทำเป็นของรับประทานเล่นหรือมาทำเป็นขนมได้ เช่น ลูกหยีปั่นสด ลูกหยีกวน ลูกหยีฉาบ ลูกหยีเคลือบน้ำตาลแบบมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด

 

สรรพคุณทางการแพทย์

1. เนื้อจากผล ต้มสุกรับประทานเป็นยาบำรุงไขข้อ แก้ไข้ร้อนใน บรรเทาอาการเจ็บคอ หรือรักษาอาการไอได้ดีมาก บรรเทาอาการไข้หวัด แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล

2. ราก กระตุ้นการไหลของนมแม่

3. เปลือกต้น ใช้แก้อาการท้องร่วง

4. เปลือกนำมาต้มแล้วเอาน้ำที่ต้มไปล้างแผลสามารถใช้เป็นยาช่วยสมานแผล

5. ยอดอ่อน ใช้เป็นยาระบายอ่อนๆ

6. ราก เปลือก ผลดิบใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสีย ปวดรำมะนาด และเป็นยาอายุวัฒนะ วิธีการใช้

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง​

สำหรับการใช้ต้นเขลงป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้เขลงเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง