ชื่อท้องถิ่น : กอกกัน มะกอกกัน กอกัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lannea coromandelica (Houtt.) Merr.
วงศ์ : Anacardiaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรงมีความสูงได้ประมาณ 12-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกเป็นช่อตรงปลายกิ่งเรียงเวียนสลับกัน แกนกลางใบประกอบยาวได้ประมาณ 12-28 เซนติเมตร ส่วนก้านใบประกอบยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร เป็นรูปคล้ายทรงกระบอก มีใบย่อยประมาณ 3-7 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบย่อยจะค่อนข้างสั้น ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อน ช่อดอกคล้ายช่อเชิงลดแยกแขนง โดยจะออกที่ปลายกิ่งก่อนผลิใบ ช่อดอกห้อยลงมาจากกิ่งที่ไม่มีใบ กลีบดอกหอม ดอกมีขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอมเหลือง ขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร ช่อดอกยาวประมาณ 12-30 เซนติเมตร ผลสดแบบมีเนื้อ ผลผนังชั้นในแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปถั่ว รูปไตแบน รูปสี่เหลี่ยมคางหมู หรือรูปคล้ายสี่เหลี่ยมมุมฉากถึงรูปกลม มีขนาดกว้างประมาณ 0.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดแบบเต็มวัน พบกระจายทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง บางครั้งก็พบได้ตามป่าเขาหินปูน ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำทะเล
การขยายพันธ์ุ ผลกอกกันเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีเขียวอมแดง ผลขนาดเล็กเปลือกหุ้มเมล็ดจะนิ่ม เนื้อหุ้มเมล็ดจะมีน้อย ผลเป็นรูปวงรี เพาะขยายพันธุ์ยาก เมื่อผลของกอกกันสุกหรือแก่เต็มที่จะล่วงล่นลงมา ให้เก็บผลใส่ถังและแช่น้ำปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2–3 วัน เปลือกและเนื้อหุ้มเมล็ดจะเน่าเปื่อยเก็บเอาเฉพาะส่วนที่เป็นเมล็ดนำมาล้างน้ำให้สะอาดและตากให้แห้ง เตรียมถุงเพาะชำ แล้วนำเอาเมล็ดกอกกัน ไปเพาะในถุงเพาะชำโดยฝังลึกประมาณ 3 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มวางไว้ในสถานที่แดดรำไรประมาณ 30 – 40 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอก ดูแลรักษารดน้ำให้สม่ำเสมอ เมื่อต้นกล้าแข็งแรงก็สามารถย้ายปลูกได้ อย่างไรก็ตามการขยายพันธุ์กอกกันมีอีกวิธีหนึ่ง คือ วิธีชำราก โดยการขุดเอารากแขนงของต้นกอกกันตัดเป็นท่อนแล้วนำไปฝังในถุงเพาะชำ รดน้ำให้สม่ำเสมอประมาณ 20–30 วัน ก็จะสามารถเกิดเป็นต้นใหม่ได้
รากมีน้ำมากสามารถขุดมาเคี้ยวได้(น้ำจากรากใช้แก้กระหายเวลาเดินป่าในพื้นที่)
1. เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล แก้ปวดฟัน แก้ธาตุพิการและอ่อนเพลีย แก้ฝี โรคเรื้อน โรคผิวหนังและแก้เจ็บตา
2. แก่นมีรสหวาน แก้เสมหะ บรรเทาอาการกระหายน้ำ ชุ่มคอ
3. ใบใช้แก้ผิวหนังพุพอง เน่าเปื่อย
สำหรับการใช้ต้นกุ๊กเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้กุ๊กเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม