ชื่อท้องถิ่น : ยางปลวก ยางปลอก ยายปลวก ฮ่อสะพานควาย (แพร่, น่าน), ทุเรียนป่า ไฟ (ลำปาง), ขุนตาก ข้าวตาก (กาญจนบุรี), ขันทองพยาบาทเครือ ขัณฑสกร ช้องลำพัน สลอดน้ำ (จันทบุรี), มะดูกดง (ปราจีนบุรี), ขันทอง (พิษณุโลก), ดีหมี (พิษณุโลก, อุตรดิตถ์), ขันทองพยาบาท ดูดหิน (สระบุรี), ดูกใส ดูกไทร ดูกไม้ เหมือนโลด (เลย), ดูกไหล (นครราชสีมา), ขนุนดง ขุนดง (หล่มสัก-เพชรบูรณ์), ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์), ขอบนางนั่ง (ตรัง), มะดูกเหลื่อม (ภาคเหนือ), มะดูกเลื่อม (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), ขันทองพยาบาท มะดูก หมากดูก (ภาคกลาง), กะดูก กระดูก (ภาคใต้), หมากดูด (ไทย), เจิง โจ่ง (ส่วย-สุรินทร์), มะดูกเลี่ยม, เหมือดโรค, ป่าช้าหมอง, ยายปลูก เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflora (A. Juss.) Baill.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 5-8 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 9-14 ซม. ดอกช่อ สีขาวนวลออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้มีขนาด 0.25 ซม. มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ อยู่บนฐานรองดอกที่ลักษณะกลม เกสรตัวผู้ 10-60 อัน ดอกเพศเมียขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ มีรังไข่ 3 ช่อง ผล กลม ผิวเกลี้ยง ขนาด 2 ซม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง แก่แล้วแห้งแตกตามพู เมล็ดรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาด 0.7 – 0.8 ซม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธุ์
การขยายพันธุ์ โดยการใช้เมล็ด
1. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำเครื่องมือใช้สอยหรือนำมาใช้ทำเครื่องจักสานได้
2. ต้นขันทองพยาบาทมีลักษณะทรงพุ่มสวยงาม ใบเป็นมัน ผลสุกมีสีสันสะดุดตา และดอกยังให้กลิ่นหอม สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวน หรือใช้ปลูกเป็นฉากหลังแบบกลุ่มๆ
1. เปลือกต้นมีรสเมาเบื่อ ใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ใช้รักษาเหงือกอักเสบ ทำให้ฟันทน เหงือกแข็งแรง ใช้เป็นยาถ่าย เป็นยาระบาย รักษาโรคตับพิการ รักษาอาการปวดไขข้อ ช่วยแก้ปอดพิการ
2. ลำต้นใช้ต้มกับน้ำอาบสำหรับสตรีอยู่ไฟ
3. เนื้อไม้และเปลือกต้นใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังทุกชนิด ผดผื่นคัน รักษาโรคเรื้อน กลากเกลื้อน แก้กามโรค รักษามะเร็ง มะเร็งคุดทะราด ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มแล้วพอกหรือตำคั้นเอาแต่น้ำนำมาใช้ทารักษาโรคผิวหนัง
4. เนื้อไม้ เปลือกต้น ราก ช่วยรักษาอาการพิษในกระดูก ใช้รักษาประดง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการคัน)
5. รากขันทองพยาบาท จัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดเนาวโลหะ” ซึ่งในตำรับยาประกอบไปด้วย รากขันทองพยาบาท รากทองกวาว รากทองพันชั่ง รากใบทอง รากจำปาทอง รากทองหลางหนาม รากทองหลางใบมน รากทองโหลง โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณช่วยแก้ลม แก้ลมที่เป็นพิษ แก้โรคดี แก้เสมหะ ฆ่าพยาธิ สมานลำไส้ ชำระล้างลำไส้ ขับระดูร้าย แก้โรคตับ ถอนพิษ และดับพิษ
สำหรับการใช้ต้นขันทองพยาบาทเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้ขันทองพยาบาทเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม