ชื่อท้องถิ่น : ประดู่เสน (ตราด), ขะยูง (อุบลราชธานี), ประดู่ตม (จันทบุรี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), พะยูงไหม (สระบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), พยุง พะยูง (ทั่วไป), กระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์), หัวลีเมาะ (จีน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์ : Fabaceae
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้นๆ ลำต้นสูง 15-30 เมตร ทรงพุ่มรูปไข่หรือแผ่กว้าง โปร่ง เปลือกต้นสีเทาเรียบ แตกไม่เป็นระเบียบ และหลุดร่อนเป็นแผ่น เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อไม้มีสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ใบย่อย 7-9 ใบ รูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเป็นติ่งหู โคนใบมนกว้าง ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว คล้ายแผ่นหนัง แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม แผ่นใบด้านล่างสีเขียวนวล แกนกลางใบประกอบยาว 10-15 เซนติเมตร เส้นแขนงใบข้างละ 5-7 เส้น ก้านใบย่อยยาว 3-6 เซนติเมตร ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อดอกตั้งขึ้น ยาว 10-20 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ขอบหยักซี่ฟันตื้นๆ 5 จัก มีขนสั้น กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีขาวนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกยาว 0.8-1 เซนติเมตร ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกันเป็น 2 มัด ดอกร่วงพร้อมกัน ภายใน 2-3 วัน ผลเป็นฝักแห้งไม่แตกออก ฝักจะร่วงหล่นโดยที่เมล็ดยังอยู่ในฝัก ฝักรูปขอบขนาน แบนบาง เกลี้ยง กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 4-5 เซนติเมตร ตรงกลางมีกระเปาะหุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไต สีน้ำตาลเข้ม 1-4 เมล็ด ต่อฝัก ผิวเมล็ดค่อนข้างมัน กว้างประมาณ 4 มม. ยาว 7 มม. ออกดอกราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ติดผลราวเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พบตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ที่ความสูง 100-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล
1. ผลใช้ทำเป็นไม้ประดับแห้งได้
2. ไม้พะยูง เป็นไม้ที่สามารถนำมาเลี้ยงครั่งได้ดีชนิดหนึ่ง โดยสามารถให้ผลผลิตสูงถึงต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม และทำให้ครั่งได้มาตรฐานจัดอยู่ในเกรดเอ
3. พะยูงมีเนื้อไม้ที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม จนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดโลก (แพงกว่าไม้สักหลายเท่านัก) เป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จนนำไปสู่ปัญหาใหญ่ภายในประเทศคือการลักลอบตัดไม้พะยูงเพื่อส่งออก (เบื้องต้นอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 800 บาท คิวละ 2-6 แสนบาท (ในขณะที่ไม้สักคิวละประมาณ 3-5 หมื่นบาท) แต่ถ้าส่งออกจะมีราคาแพงขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว) เพราะเนื้อไม้พะยูงเป็นไม้ที่ละเอียดเหนียว มีความแข็งแรงทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว นิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ทำสิ่งประดิษฐ์ งานแกะสลัก ไม้ถือและด้ามเครื่องมือ ที่มีคุณภาพดีและราคาแพง นอกจากนี้ยังนำมาใช้ทำส่วนต่าง ๆ ของเกวียน ทำกระบะยนต์ ด้ามหอก คันธนู หน้าไม้ กระสวยทอผ้า ใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ย รำมะนา ลูกระนาด โทน ฯลฯ หรือใช้ทำเป็นวัตถุมงคลและของแต่งบ้านชิ้นเล็ก ๆ เช่น เทพเจ้า ฮก ลก ซิ่ว ตัวปี่เซียะ
1. เปลือกนำมาต้มเอาแต่น้ำ ใช้เป็นยาอมรักษาโรคปากเปื่อย ปากแตกระแหง
2. ยางสดใช้เป็นยาทาปากและทาเท้า เพื่อรักษาโรคปากเปื่อย และโรคเท้าเปื่อย
3. ราก ใช้รับประทานแก้พิษไข้เซื่องซึม
4. ตำรับยาพื้นบ้านอีสานใช้เปลือกต้นหรือแก่นพะยูงเป็นยาแก้มะเร็ง วิธีการใช้
สำหรับการใช้ต้นพะยูงเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้พะยูงเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม