บริการสังคม

ต้นกาสามปีก (Ka sam pik)

ชื่อท้องถิ่น : ตีนนกผู้ มะยาง ห้าชั้น (เชียงใหม่), สวองหิน (นครราชสีมา), ไข่เน่า (นครราชสีมา, ลพบุรี), เน่า (ลพบุรี), ขี้มอด (นครปฐม), แคตีนนก (กาญจนบุรี), กะพุน ตะพรุน (จันทบุรี), ตะพุน ตะพุนทอง ตะพุ่ม สะพุนทอง (ตราด), กานน สมอกานน สมอตีนนก สมอหิน (ราชบุรี, ประจวบคีรีธันธ์), สมอป่า สมอหิน (ประจวบคีรีขันธ์), นนเด็น (ปัตตานี), ตาโหลน (สตูล), กาสามปีก กาจับหลัก ตีนนกผู้ มะยางห้าชั้น (ภาคเหนือ), กาสามซีก กาสามปีก ตีนกา สมอบ่วง (ภาคกลาง), โคนสมอ ตีนนก สมอตีนเป็ด สมอหวอง (ภาคตะวันออก), ปะถั่งมิ เปอต่อเหมะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), นน สมอตีนเป็ด (ภาคใต้), ลือแบ ลือแม (นราธิวาส-มาเลเซีย), ไม้เรียง (เมี่ยน), ตุ๊ดอางแลง (ขมุ) เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex peduncularis Wall. ex Schauer

วงศ์ : Lamiaceae

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดยาว ใบประกอบแบบฝ่ามือ ใบย่อย 3-5 ใบ ออกจากจุดเดียวกัน เรียงแบบตรงข้ามและตั้งฉาก ใบย่อยรูปใบหอกถึงรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 4-6 ซม. ยาว 10-13 ซม. ใบย่อยตรงกลางมักมีขนาดใหญ่ที่สุด ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อแยกแขนงออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 7-20 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอก 5 กลีบ กลีบบนมี 4 กลีบ กลีบล่างมี 1 กลีบ สีน้ำเงินหรือสีม่วงอ่อน โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็นสองปาก ผลเดี่ยว สด รูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. มีเมล็ดเดียวแข็ง

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1. ใบอ่อน ยอดอ่อน นำมาลวกหรือต้มรับประทานเป็นผัก ให้รสฝาดมัน

2. ใบนำมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำดื่มแทนชา ให้รสชาติดี

3. ผลสุกรับประทานได้

4. เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ทำเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป เช่น เสา พื้น กระดาน รอด ตง พาย กรรเชียง ครก สาก พานท้าย รางปืน ฯลฯ ใช้ในงานแกะสลักได้ดี

 

สรรพคุณทางการแพทย์

1. รากช่วยขับลม

2. เปลือกต้นใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ

3. เปลือกต้นใช้แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ วิธีการใช้

4. เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด

5. ใบใช้ตำผอกแผล

6. รากใช้เป็นยาลดไข้ วิธีการใช้

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง​

สำหรับการใช้กาสามปีกเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้กาสามปีกเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง