ชื่อท้องถิ่น : กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ), ส้มพ่อ (เลย), ตองขะเหน่ (กะเหรี่ยง), สะนาย (เขมร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.
วงศ์ : Moraceae
ที่มา ข่อยเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เป็นต้น จากนั้นได้มีการกระจายพันธุ์ไปยังภูมิภาคใกล้เคียงในบริเวณเอเชียใต้ จีนตอนใต้รวมถึงหมู่เกาะในแปซิฟิก ซึ่งในปัจจุบันนี้สามารถพบเห็นข่อย ได้ทั่วไปในหลายประเทศของทวีปเอเชีย เช่น ไทย พม่า อินเดีย ศรลังกา จีน มาเลเซีย ฟิลิปินส์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยมักจะพบได้ตามที่ลุ่มของป่าละเมาะ และป่าเบญจพรรณทั่วไป
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5 – 15 ม. ลำต้นค่อนข้างคดงอ เป็นปุ่มปม หรือเป็นพู เป็นร่องทั่วไป อาจขึ้นเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำบางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน เรือนยอด เป็นรูปทรงกลม หรือรูปทรง หรือรูปทรง กระบอกทึบหรือรูปเจดีย์ กิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนมีขนสากทั่วไป เปลือกนอก สีเทา ขรุขระอันเนื่องมาจากกิ่งที่เคยแตก เปลือกใน สีเป็นเส้นใยสีขาว เมื่อสับเปลือกจะมียางสีขาว เหนียวซึมออกมา ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ บางทีเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนกลาย ๆ กว้าง 2 – 3.5 ซม. ยาว 4 – 7 ซม. โคนและปลายใบสอบทู่ ๆ เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ เส้นแขนงใบมี 7 – 12 คู่ แตกเยื้องกันไปปลายเส้นจะจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ เส้นใบย่อยแบบร่างแหหยาบ ๆ เห็นชัดทางด้านท้องใบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ไม่ค่อยเป็นระเบียบนัก ก้านใบสั้นมากแทบถือว่าไม่มี ใบอ่อน สีเขียวอ่อนใส ใบแก่ สีเขียวเข้มทึบ ๆ ดอก ดอกเล็ก ออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ออกเดี่ยว ๆ แต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้กับเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน กลีบรองกลีบดอก มี 4 กลีบ และติดอยู่จนกลายเป็นกลีบจุกผล แต่ละกลีบโค้งงุ้ม และเกยซ้อนกันบริเวณขอบกลียด้านข้าง ดอกเพศผู้สีเขียวอ่อน แต่ละดอกมีเกสรผู้ 4 อัน ติดทะแยงกับกลีบฐานดอก รังไข่กลม เกลี้ยงอยู่เหนือโคนกลีบฐานดอก และเกสรเมียภายในมีช่องเดียว มีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย หลอดท่อรังไข่มีสองหลอดคล้ายเส้นด้าย หลอดนี้จะติดที่ผลต่อไป ผล ผลสด กลม เมล็ดโตขนาดเมล็ดพริกไทย ล่อนหรือเป็นสองพูเล็ก ขนาด 5 มม. มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่จัดสีเหลือง เมล็ดกลมแข็ง ๆ ซ่อน อยู่ ในเนื้อเยื่อหุ้ม 1 เมล็ด ก้านผล ยาว 2 ซม.
การขยายพันธ์ุ ข่อยสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำ แต่การปักชำต้นข่อยนั้น จะนิยมใช้รากมาปักชำมากกว่าใช้กิ่งปักชำ เพราะจะเจริญเติบได้รวดเร็วกว่าส่วนการขยายพันธุ์ข่อยโดยใช้เมล็ดสามารถใช้เมล็ดแก่ที่สุกแล้วจากต้น หรือ เมล็ดที่ร่วงจากต้น นำมาปลูกในกระบะเพาะเมล็ด หรือ กระถางขนาดเล็ดให้เป็นต้นกล้าแล้วจึงนำไปปลูกบริเวณที่ต้องการต่อไป ทั้งนี้ข่อยเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน และทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี แต่การเติบโตจะช้านานหลายปีกว่าจะได้ต้นใหญ่
ใช้งานด้านภูมิทัศน์ เหมาะนำไปปลูกในสวนป่าให้ร่มเงาได้
1. ราก รสเมาเบื่อ แก้บาดแผล ขับปัสสาวะ ขับเมือกันในลำไส้ แก้ไตพิการ ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ ฆ่าพยาธิ แผลเน่าเปื่อย ฆ่าพยาธิรำมะนาด
2. กิ่ง แทนแปรงสีฟัน ทำให้ฟันคงทน เปลือกต้น แก้โรคทางฟัน ทำให้ฟันทน แก้แมงกินฟัน รักษาฟัน แก้ปวดฟัน แก้ตัวกิมิชาติในปาก
3. เปลือกต้นสด รักษาอาการปวดฟัน วิธีการใช้
4. เปลือกแก้บิด แก้ท้องเสียแก้ไข้ ดับพิษกระดูกในเส้น แก้พยาธิผิวหนัง วิธีการใช้
5. เปลือกแก้ริดสีดวงจมูก วิธีการใช้
6. ใบข่อยแก้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน วิธีการใช้
7. ใบสดใช้ถอนพิษยาเบื่อ หรือ อาหารแสลง วิธีการใช้
8. ใช้รักษาบาดแผล และโรคผิวหนัง วิธีการใช้
สำหรับการใช้ต้นข่อยเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้ข่อยเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม