บริการสังคม

ต้นปอแก่นเทา (Po kan thao)

ชื่อท้องถิ่น : ขี้เถ้า (นครราชสีมา), คันเทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ปอแก่นเทา (เชียงราย, นครพนม) ปอลาย (พิษณุโลก) ปอหมื่น, ยาบข้าวจี่ (ภาคเหนือ), ยาบน้อย, ยาบมื่น (เชียงใหม่), ลาย (ราชบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grewia eriocarpa Juss.

วงศ์ : Malvaceae

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงถึง 12 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้าง 2-5.5 เซนติเมตร ยาว 3-12 เซนติเมตร ปลายแหลมถึงเรียวแหลม ฐานมนหรือกลม มีเส้นใบ 3 เส้นออกจากโคนใบ ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยถี่ๆ ดอกเล็ก สีเหลืองอมเขียว ออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปใบหอก ผลกลม มีพูตื้นๆ 2-4 พู เปลือกแข็ง มีขนเปลือก เปลือกสีเทาเรียบ พบตามป่าผลัดใบทั่วไป ที่ระดับความสูง 100-1,000 เมตร

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1. ผลรับประทานได้

2. เนื้อไม้ใช้ทำฟืน

 

สรรพคุณทางการแพทย์

ยังไม่มีข้อมูลสรรพคุณทางการแพทย์

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง