ชื่อท้องถิ่น : อ้อยน้ำ (จันทบุรี), กะตีบ แขกเต้า ค้ำ หวีด (ภาคเหนือ), คร้ำ ตำคร้ำ (ไทย), เก๊าค้ำ ไม้หวิด ไม้ค้ำ (คนเมือง), ไม้ค้ำ (ไทใหญ่), ปีซะออง ปิชะยอง (กะเหรี่ยง-จันทบุรี), กระโหม๊ะ (ขมุ), ลำคร้ำ ลำเมาะ (ลั้วะ), เจี้ยนต้องแหงง (เมี่ยน) เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garuga pinnata Roxb.
วงศ์ : Burseraceae
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ เรือนยอดของต้น และตามกิ่งอ่อนจะมีขนปกคลุมอยู่ มีเปลือกสีเทา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ใบ เป็นไม้ใบรวมแบบใบขนนก ก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 9-10 คู่ และยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ลักษณะของใบรูปมนรี ปลายใบแหลมและมีติ่ง ตรงปลายก้านจะมีใบเพียงใบเดียว เมื่อยังอ่อนจะมีขนปกคลุม แต่พอโตเต็มที่แล้วขนก็จะหลุดร่วงไป มีสีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอดของต้น ช่อดอกยาวประมาณ 6 นิ้ว ดอกเป็นรูประฆัง ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบและมีขนมีสีครีม สีเหลืองหรือชมพู ผล เป็นลูกกลมๆ มีเมล็ดอยู่ภายในสีเขียวอมเหลือง แก่จัดเป็นสีดำ ผลมีเนื้อนุ่มแต่ภายในมีผิวแข็งหุ้ม
1. ผลสุกใช้รับประทานได้
2. ใบใช้มัดเสาเอกของบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลในการช่วยค้ำชู
3. เนื้อไม้ตะคร้ำ สามารถนำมาใช้ในการสร้างบ้านเรือ ทำเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน ทำฝา หีบหรือลังใส่ของได้
4. ผลใช้ย้อมตอกให้สีดำ
1. ผลตะคร้ำ มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุหรือบำรุงกระเพาะอาหาร
2. ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำใช้หยอดตา แก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ
3. เปลือกต้นใช้ฝนใส่น้ำร่วมกับเปลือกต้นมะกอกและตะคร้อ ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้อง
4. ใช้เป็นยาแก้บิด แก้ท้องร่วง วิธีการใช้
5. เปลือกต้นใช้ต้มอาบสำหรับสตรีหลังคลอด
6. เปลือกต้นใช้ภายนอกเป็นยาทาห้ามเลือด
7. เปลือกต้น ใช้ล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก วิธีการใช้
8. ป้องกันไม่ให้ผิวหนังมีผื่นหรือตุ่มขึ้น ในเด็กทารก วิธีการใช้
สำหรับการใช้ตะคร้ำเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้ตะคร้ำเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม