บริการสังคม

ต้นเก็ดแดง (Ket daeng)

ชื่อท้องถิ่น : ประดู่ชิงชัน, ดู่สะแดน, อีเม็ง, พยุงแกลบ, กะซิก, กะซิบ, หมากพลูตั๊กแตน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia lakhonensis Gagnep.

วงศ์ : Fabaceae

 

ข้อมูลทั่วไป

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-25 ม. เปลือกในมีสีเหลือง ประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบและใบย่อย เรียงสลับ รูปรีหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนใบกลม ปลายใบแหลม กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง เกิดตามกิ่ง ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันปลายแยกเป็นแฉก กลีบดอก 5 กลีบ รูปดอกถั่ว สีม่วงอ่อน ม่วงแดง ชมพู เกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดสองกลุ่ม กลุ่มละ 5 อัน ผลเป็นฝักแบบถั่ว รูปยาวรีรูปขอบขนาน สีน้ำตาลเข้ม กว้าง 3.0-3.5 ซม. ยาว 8-17 ซม. เปลือกฝักตรงส่วนที่มีเมล็ดจะพองนูนเป็นเต้าออกมาเด่นชัด ปลายฝักแหลม แต่ละฝักมี 1-3 เมล็ด พบทั่วไปป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-700 ม. พบทั่วไปป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบและป่าดิบแล้งทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 100-700 ม.

การขยายพันธ์ุ การเพาะเมล็ด

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1. ใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ต่างๆได้สวยงามจากเนื้อไม้ และมีความอายุการใช้งานที่ทนทาน

2. ใช้งานด้านภูมิทัศน์  นำไปปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อให้ร่มเงาและเพื่อความสวยงาม

3. ใช้เป็นวัสดุในการทำเครื่องดนตรี อาทิเช่น ขลุ่ย ซอ จะเข้ ลูกระนาด กลองโทน รำมะนา กรับ ขาฆ้องวง และเป็นส่วนประกอบของเกวียน พานท้ายปืน

 

สรรพคุณทางการแพทย์

1. เปลือก ใช้ต้มชำระล้างและสมานแผลเรื้อรัง

2. แก่นต้น มีสรรพคุณช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง​

สำหรับการใช้ต้นเก็ดแดงเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้เก็ดแดงเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง