บริการสังคม

ต้นขี้หนอน (Khi non)

ชื่อท้องถิ่น : ขี้มอด (ขอนแก่น, นครราชสีมา)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zollingeria dongnaiensis Pierre

วงศ์ : Sapindaceae

 

ลักษณะทางกายภาพ

ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือเป็นพุ่มกลม โปร่ง เปลือกนอกสีเทาดำ เรียบ แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ มีรูระบายอากาศสีน้ำตาลทั่วไป เปลือกในสีขาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียน มีใบย่อย 4-8 คู่ ใบย่อยเรียงสลับกึ่งเวียน รูปร่างใบย่อยรีหรือขอบขนานหรือรุปไข่กลับหัว ปลายใบย่อยแหลมหรือเว้าบุ๋ม ฐานใบย่อยเบี้ยว ขอบใบย่อยเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เกลี้ยงก่อนร่วงมีสีเหลือง ขนาด 2.5-5 x 5-12 เซนติเมตร ช่อแบบแยกแขนง ที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวหรือเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลแห้งมีครีบบางๆ 3 ครีบ ผลแก่สีน้ำตาล   พบในป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง

 

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1. ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก

2. ผลใช้ทำเป็นเครื่องประดับ

3. ปลูกเป็นไม้ประดับ

 

สรรพคุณทางการแพทย์

1. ด่างไม้ยาแก้โรคกระษัย ยาแก้หวัด คัดจมูก ยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ยาขับมุตกิดของสตรี

2. เปลือกต้นรสขมเย็น ยาแก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน แก้หวัดคัดจมูก วิธีการใช้

3. ใบยาแก้ร้อนใน

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง​

สำหรับการใช้ขี้หนอนเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้ขี้หนอนเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง