บริการสังคม

ต้นกระเจียน (Kra chian)

ชื่อท้องถิ่น : สะบันงาป่า, ไม้เหลือง, เหลือง, ค่าสามซีก (ภาคเหนือ), จันทร์ดง, ไซเด่น, ทรายเด่น (ภาคอีสาน), พญารากดำ, โมดดง (ภาคตะวันออก), แคหาง (ราชบุรี), เสโพส่า (ไทใหญ่)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hubera cerasoides (Roxb.) Chaowasku

วงศ์ : Annonaceae

 

ข้อมูลทั่วไป

ที่มา จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่ายังไม่พบยืนยันถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของกระเจียน พบแต่เพียงว่ามีการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย รวมถึงบางที่ในทวีปแอฟริกาด้วย 

สำหรับในประเทศไทยพบได้ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีรายงานระบุว่าสามารถพบได้ถึงจังหวัดชุมพรเท่านั้น 

โดยในประเทศไทยส่วนมากจะพบบริเวณป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง รวมถึงภูเขาหินปูน ในระดับความสูง 100-1600 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 ม. เรือนยอดรูปกรวยคว่ำ ลำต้นเปลา เปลือกเรียบ สีเทาหรือน้ำตาลอ่อน กิ่งเกือบตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป กิ่งแก่เกลี้ยง ลำต้นและกิ่งแก่มีช่องอากาศสีเหลืองอ่อนทั่วไป ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน และมักเบี้ยว กว้าง 2-4.5 ซม. ยาว 8-18 ซม. ขอบเรียบ ใบอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป และขนจะค่อยๆ ร่วงไปเมื่อใบแก่ยกเว้นตามเส้นใบและเส้นแขนงใบ แผ่นใบบาง ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีจางหรือขาวอมเทา เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น เห็นได้ชัดทางด้านล่าง ก้านใบสั้นมากและมีขนสั้นๆ ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 ดอก ตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบตามกิ่ง เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม ขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 700 ม.

การขยายพันธุ์  กระเจียน สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดซึ่งการขยายพันธุ์ในปัจจุบันนั้นส่วนมากจะเป็นการขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดตามธรรมชาติ เนื่องจากยังไม่เป็นที่นิยมในการนำมาปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ เพราะหากจะใช้ประโยชน์จากกระเจียนก็จะเป็นการเก็บเอามาใช้ประโยชน์จากในป่าหรือส่วนใหญ่สำหรับวิธีการเพาะเมล็ด และการปลูกกระเจียน นั้นสามารถทำได้เช่นเดียวกันกับการเพาะเมล็ดและปลูกไม้ยืนต้นที่ต้องการใช้เมล็ดปลูกทั่วไปที่ได้กล่าวมาแล้วในบทความก่อนหน้านี้

การใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

1. ผลของกระเจียนกินได้มีรสหวานอร่อย 

2. เนื้อไม้มีลักษณะเป็นไม้เนื้อแข็ง ยังใช้ในการก่อสร้าง ทำอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ ได้ 

3. ดอกมีกลิ่นหอมในวงการเครื่องหอมนำไปสกัดทำน้ำหอมได้กลิ่นที่ดี 

4. เปลือกด้านในจะมีเส้นใยที่ละเอียดอ่อน สามารถนำมาใช้ทำเชือกหรือทอเป็นถุงได้

สรรพคุณทางการแพทย์

1. เนื้อไม้ ใช้บำรุงธาตุช่วยเจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้เจ็บหลังเจ็บเอว แก้ปัสสาวะ ใช้แก้วัณโรคในลำไส้ วิธีการใช้

2. ราก ใช้แก้กษัย ไตพิการ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย บำรุงกำหนัดในบุรุษ คลายเส้นเอ็น วิธีการใช้

3. ส่วนปลายสุดของราก ใช้คุมกำเนิดสำหรับสภาพสตรี วิธีการใช้

4. ใบสดมาตำพอก แก้ปวด แก้อักเสบ ของแผลและฝี

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง​

สำหรับการใช้ต้นกระเจียนเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำราต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาดที่มากจนเกินไปหรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ สำหรับเด็กสตรีมีครรภ์ หรือ ผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้กระเจียนเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง

อ้างอิง

กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง