ชื่อท้องถิ่น : บันไดลิง (ภาคเหนือ), มะลืมดำ, กระไดวอก (ภาคเหนือ), โชกนุ้ย (ชัยภูมิ), เครือเสี้ยว (ไทยใหญ่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lasiobema scandens (L.) de Wit.
วงศ์ : Fabaceae
ที่มา กระไดลิง เป็นพันธุ์ไม้เถาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในภูมิภาคเอเชียใต้ถึงตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเขตการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างบริเวณ อินเดีย ศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น สำหรับประเทศไทยพบกระจายอยู่เกือบทั่วทุกภูมิภาคของประเทศแต่พบได้น้อยในภาคใต้ โดยมักพบได้ในบริเวณป่าเบญจพรรณที่มีความชื้นปานกลาง
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีมือเกาะ ขึ้นพาดพันตามเรือนยอดของต้นไม้ไปได้ไกล เถาแก่แข็งเหนียว แบน โค้งไปมาเป็นลอนสม่ำเสมอลักษณะเป็นขั้นๆ คล้ายบันได ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปพัด ใบที่ส่วนปลายเว้าลึกลงมาค่อนใบแผ่นใบมีลักษณะเป็น 2 แฉก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง มีขนประปราย แตกแขนงน้อย แต่ละแขนงมีดอกเล็กจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง แยกกัน ฝักแบน รูปรีหรือรูปไข่แกมรี ฝักแก่สีน้ำตาลแดง ปลายมน มีติ่งแหลมสั้นๆ
การขยายพันธ์ กระไดลิงสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ซึ่งการขยายพันธุ์ส่วนมากของกระไดลิง จะเป็นการขยายพันธุ์โดยธรรมชาติ ซึ่งอาศัยฝักแก่ดีดเมล็ดออกมาแล้งร่วงลงสู่พื้นดิน จากนั้นเมล็ดเติบโตเป็นเถาใหม่ต่อไป สำหรับการนำมาปลูกโดยเมล็ดนั้นในปัจจุบันยังไม่นิยมนำมาปลูกแต่อย่างใด
1. เถาแก่ที่คดงอมีลักษณะแปลกตา ก็ใช้นำมาประดับตกแต่ง หรือ ทำเป็นงานศิลปะ กรอบรูป โคมไฟ
2. เปลือกของเถาที่มีความเหนียว บางท้องถิ่น ก็มีการนำมาใช้ทำเป็นเชือก
1. แก้พิษทั้งปวง วิธีการใช้
2. แก้ตัวร้อน ไข้เซื่องซึม แก้พิษไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ ถ่ายพยาธิ วิธีการใช้
3. ใช้แก้บิด แก้ไข้พิษทั้งปวง แก้ร้อนใน แก้ไข้เซื่องซึม แก้กษัย แก้พิษฝี แก้พิษไข้ แก้พิษร้อน แก้พิษโลหิต แก้พิษเลือดลม วิธีการใช้
4. ใช้แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ วิธีการใช้
สำหรับการใช้กระไดลิงเป็นสมุนไพร ในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยความเป็นพิษของกระไดลิงจะระบุว่ามีความเป็นพิษน้อยมากในสัตว์ทดลองแต่อย่างไรก็ตามในการใช้กระไดลิงเป็นสมุนไพร ก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยควรใช้ในขนาด และปริมาณที่เหมาะสมที่ได้ระบุไว้ในตำรับตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้ในขนาด และปริมาณ ที่มากจนเกินไป หรือ ใช้ต่อเนื่องกันนานจนเกินไปเพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้กระไดลิง เป็นยาสมุนไพรเพราะในสรรพคุณตามตำรายาพบว่ามีฤทธิ์ทำให้แท้งได้อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยในสตรีมีครรภ์อีกด้วย
สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังก่อนจะใช้กระไดลิงเป็นยาสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม