พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ที่คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชาได้ดำเนินพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การเกษตรแบบใหม่ และพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนที่ผสมผสานศาสตร์แห่งแผ่นดินกับความรู้สมัยใหม่ อาทิ เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง (IOT) เทคโนโยลีแก๊สชีวภาพ (Biogas) การแปรสภาพเป็นแก๊ส (Gasification) พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar energy) ระบบการเปลี่ยนขยะเป็นน้ำมัน (Pyrolysis) เป็นต้น บนพื้นฐานของการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ชุมชนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ได้จริงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชน สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมความยั่งยืน (SDG) ตามเป้าหมายที่ 2 (ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่ 7 (สร้างหลักประกันให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ที่ยั่งยืนในราคาที่ย่อมเยา) เป้าหมาย 12 (สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) และเป้าหมาย 15 (ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพดิน และหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ) ตามลำดับ
กิจกรรมถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบสูบน้ำจากแหล่งพลังงานโซลาร์เซลล์เพื่อประยุกต์ใช้ในงานเกษตรกรรม และการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบอื่นให้แก่ชุมชน ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นสาเหตุสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก
จำนวนชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ชุมชน
กิจกรรมถ่ายทอดความรู้เชิงปฏิบัติการด้านการผลิตถ่ายอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น ตลอดจนช่วยลดปริมาณขยะ และเป็นการส่งเสริมการผลิตพลังงานที่ยั่งยืนช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก
จำนวนชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ชุมชน
กิจกรรมปลูกพืชสมุนไพรยืนต้น และพัฒนาพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาเป็นพื้นที่แหล่งการเรียนรู้สมุนไพรยืนต้นให้กับมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นดูดซับคาร์บอน และปรับปรุงภูมิทัศน์ของพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะประโยชน์ที่ชุมชน นิสิต และบุคลากรในมหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาใช้พื้นที่ในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันอนาคตจะผสมผสานศาสตร์แห่งแผ่นดินกับความรู้สมัยใหม่ อาทิ เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเทอร์เน็ตของทุกสิ่ง (IOT) เพื่อพัฒนาระบบแปลงเกษตรสาธิต ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ชุมชน สถานที่ฝึกงานของผู้เรียนหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง เป็นห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) และช่วยสนับสนุนการพัฒนารายวิชาใหม่ ๆ
ปลูกสมุนไพรยืนต้นไปแล้ว
ต้น
สายพันธุ์
วิธีใช้
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียด
ทุบเมล็ดให้แตกแล้วนำกระไดลิง มาต้มกับน้ำดื่ม