บริการสังคม

วันที่ 31 สิงหาคม 2567

คณะวิทยาศาสตร์ศรีราชาได้จัดโครงการส่งเสริมเพิ่มมูลค่าขยะในทะเลและแนวชายฝั่งเขตระเบียงเศรฐกิจภาคตะวันออกขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา บริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน) และชุมชุมโดยรอบมหาวิทยาลัย เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนไทยในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทะเลและชายฝั่ง ภายในงานได้รับเกียรติจากท่าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภ.พึ่งบุญ ปานศิลา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา คุณประพฤทธิ์ ผกผ่า ผู้จัดการแผนกบริหารงานชุมชนกลุ่มไทยออยล์ และผู้แทนกลุ่มประธานชุมชนเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และต้อนรับตัวแทนเยาวชนจากชุมชนโดยรอบของมหาวิทยาลัย นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา และบุคลากรที่สนใจที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้เยาวชนไทยในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของทะเลและชายฝั่ง พร้อมกับถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการและการเพิ่มมูลค่าขยะในทะเลและแนวชายฝั่งที่เป็นรูปธรรมให้กับเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างเหมาะสมและยั่งยืนในอนาคต ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองนโยบายภาครัฐของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้ประเทศมีการนำขยะผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกในกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 100 เปอร์เซนต์ ในปี 2570 ซึ่งภายในโครงการมีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการในการแปรรูปขยะขวดพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารเสริมสร้างรายได้แก่ชุมชนด้วยเทคโนโลยีกระบวนการแปรรูปและต้นทุนการผลิตที่ชุมชนสามารถเข้าถึงและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทีมวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา และบริษัทไทยออยล์จำกัด (มหาชน)  ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้และทดลองลงมือปฏิบัติจริงในการแปรรูปขยะขวดพลาสติกให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ก่อเกิดมูลค่าในทุกกระบวนการ โดยคาดหวังว่าโครงการนี้จะเป็นกิจกรรมการเพิ่มพูนองค์ความรู้ (upskill & reskill) ในการอนุรักษ์และการบริการจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างเหมาะสมยั่งยืน และช่วยส่งเสริมเพิ่มรายได้จากขยะพลาสติกเหลือทิ้งให้กับชุมชุนตามแนวชายฝั่งเขตภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในบทบาทของการอนุรักษ์  ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างเป็นมิตรและยั่งยืนต่อไป