Layer 46
ETAT

โครงการ Education & Training for Automation 4.0 in Thailand – ETAT

ที่ปรึกษาโครงการ นายอานนท์  ผ่องรัศมีเพ็ญ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุพาพร บรรดาศักดิ์
หลักการและเหตุผล

         สืบเนื่องการที่คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการร่างข้อเสนอโครงการ Education & Training for Automation 4.0 in Thailand – ETAT ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายในประเทศไทยจำนวน ๗ มหาวิทยาลัย และในทวีปยุโรปจำนวน ๗ มหาวิทยาลัย เพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากโครงการ Erasmus+ CBHE (Capacity Building in Higher Education) ของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งโครงการได้รับการอนุมัติแล้วตามเอกสารเลขที่ No. 610154-EPP-1-2019-1-DE-EPPKA2-CBHE-JP โดยที่โครงการนี้ได้รับการอนุมัติในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีระยะเวลา ๓ ปี (๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ – ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) และมีงบประมาณสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (EU) จำนวน ๙๙๗,๗๕๗.๐๐ ยูโร (ประมาณ ๓๖,๒๖๒,๒๗๓.๓๐ บาท อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ โดยที่ ๑ ยูโร มีค่าเท่ากับ ๓๖.๓๔ บาท) ตลอดระยะเวลาโครงการ โดยมีมหาวิทยาลัย Carinthia University of Applied Sciences (CUAS) – Villach, Austria เป็นผู้ประสานงานโครงการในฝั่งทวีปยุโรป

        โครงการนี้คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นมหาวิทยาลัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะปฏิบัติด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) การอุตสาหกรรมอัตโนมัติ (Industrial Automation) หุ่นยนต์ (Robotics) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เพื่อมุ่งไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) อย่างแท้จริง โดยในโครงการ Education & Training for Automation 4.0 in Thailand – ETAT คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชานี้ จะมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอัตโนมัติจาก ๗ มหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปมาสู่ ๗ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่เน้นการปฏิบัติจริง กับอุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจริงและคาดว่าจะนำมาใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อก้าวไปสู่ยุคอุตสาหกรรม ๔.๐ ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการคือหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นที่สามารถเพื่อทักษะหรือเปลี่ยนทักษะการปฏิบัติงาน (Reskill/Upskill) ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างยั่งยืน โดยชั้นเรียนที่ฝึกปฏิบัตินั้น จะต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ และจะต้องมีการประเมินผลตามกระบวนการประกันคุณภาพของการดำเนินโครงการฯ

วัตถุประสงค์

๑.       เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและอุตสาหกรรมอัตโนมัติระหว่างมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
         (โดยมีมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นผู้ประสานงาน)

๒.       เพื่อจัดตั้งศูนย์การฝึกปฏิบัติอุตสาหกรรมอัตโนมัติที่มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

๓.       เพื่อพัฒนาเนื้อหาและหลักสูตรระยะสั้นที่เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการ (กลุ่มเป้าหมาย)

นิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ           จำนวน 57 คน

นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์          จำนวน 3  คน

                                        รวม          จำนวน 60 คน

กิจกรรมในโครงการฯ
พิธีรับมอบอุปกรณ์เพื่อประกอบการศึกษาและฝึกปฏิบัติจากทวีปยุโรป
AUTOMATION 4.0 EDUCATIONAL EQUIPMENT HANDOVER CEREMONY
EDUCATION & TRAINING FOR AUTOMATION 4.0 IN THAILAND(ETAT)1f1e9 1f1ea1f1f9 1f1ed
วันที่ 10 กันยายน 2564 ณ มหาวิทยาลัยบูรพา

รายละเอียดข้อเสนอโครงการ ETAT

กิจกรรม งานประชุม ETAT ครั้งที่ 9 ณ . Free University of Bozen-Bolzano ประเทศอิตาลี

วันที่ 19-24 มิถุนายน 2565

รายงานประชุม ETAT ครั้งที่ 9 ณ . Free University of Bozen-Bolzano ประเทศอิตาลี

กิจกรรมการตรวจรับครุภัณฑ์

ชุดฝึกปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมและแสดงผลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (IIoT) ด้วยระบบจำลองสายพานลำเลียงสำหรับคัดแยกแบบควบคุมอัตโนมัติ

Practice set to develop programming control and display skills over the internet (IIoT). With an automated controlled sorting conveyor simulation system

กิจกรรม KU ETAT Smart Lab (IIoT)ร่วมจัดบูธในงาน BUU TechTalk 2022 x ETAT

KU ETAT Smart Lab IIoTร่วมจัดบูธในงาน BUU TechTalk 2022 X ETAT 3 768x576
KU ETAT Smart Lab IIoTร่วมจัดบูธในงาน BUU TechTalk 2022 X ETAT 2 768x1028
KU ETAT Smart Lab IIoTร่วมจัดบูธในงาน BUU TechTalk 2022 X ETAT 1 765x1024